นิวเมติกส์ (pneumatic) เป็นคำที่มาจาก pneuma ซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณ หมายความว่า “ก๊าซที่มองไม่เห็น” ในปัจจุบันนิวเมติกส์หมายถึงระบบที่ใช้อากาศอัดส่งไปตามท่อลมเพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังงานกล โดยระบบการทำงานของนิวเมติกส์นั้นจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์พื้นฐาน
อุปกรณ์ต้นกำลังนิวแมติก (power unit) ประกอบไปด้วย
- อุปกรณ์ขับ (driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดอากาศ
- เครื่องอัดอากาศ (air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
- เครื่องกรองอากาศขาเข้า (intake filter) ทำหน้าที่กรองอากาศก่อนที่จะนำไปเข้าเครื่องอัดอากาศ เพื่อให้อากาศที่จะอัดปราศจากฝุ่นละออง
- เครื่องหล่อเย็น (aftercooler) ทำหน้าที่ในการหล่อเย็นอากาศอัด ให้เย็นตัวลง
- เครื่องแยกน้ำมันและความชื้น (seperator) อุปกรณ์ที่ช่วยแยกความชื้นและละอองน้ำมันที่มากับอากาศ
- ถังเก็บลมอัด (air receiver) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บอากาศอัดที่ได้จากเครื่องอัดอากาศและทำหน้าที่ในการจ่ายอากาศ
อุปกรณ์ นิวเมติกส์ (pneumatic)
อุปกรณ์ นิวเมติกส์ (pneumatic)
อุปกรณ์ขับ air compressor
เครื่องกรองอากาศขาเข้า intake filter
เครื่องหล่อเย็น aftercooler
เครื่องแยกน้ำมันและความชื้น seperator
ถังเก็บลมอัด air receiver
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บอากาศอัดที่ได้จากเครื่องอัดอากาศและทำหน้าที่ในการจ่ายอากาศอัดที่มีค่าคงที่และสม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวแมติกส์
ควบคุมคุณภาพลมอัด (treatment component)
ชุดควบคุมคุณภาพลม การควบคุมคุณภาพลม คือ การทําให้ลมสะอาด ลมอัดมีความดันที่ถูกต้อง และคงที่ ลมอัดมีน้ำมันเพื่อหล่อลื่นชิ้นส่วนที่ทํางาน ในสภาพอากาศทั่วๆไป 1 ลูกบาศก์เมตร (m3) พบว่ามีสิ่งสกปรกอยู่โดยเฉลี่ยสูงถึงกว่า 140 ล้านสิ่งสกปรก ซึ่งประกอบไปด้วย แบคทีเรีย ไวรัส หมอกควัน ไฮโดรคาบอน น้ำ น้ำมันและสิ่งเจือปนอื่นๆที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ดังนั้นหากเราลองจินตนาการเมื่อเครื่องอัดลมอัดความดันสูงถึง 8 บาร์ ก็มีความเป็นไปได้ที่สิ่งสกปรกในอากาศอัด 1 m3 จะมีสูงถึง 1120 ล้านสิ่งสกปรก อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับปรับปรุงคุณภาพลม
ชุดควบคุมคุณภาพลม (treatment component) ประกอบไปด้วย
- อุปกรณ์กรองลมอัด (Air Filter) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดอากาศ
- อุปกรณ์ควบคุมความดันของลมอัด (Air Regulator) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
- อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่นเข้าไปในลมอัด (Air Lubricator) ทำหน้าที่กรองอากาศก่อนที่จะนำไปเข้าเครื่องอัดอากาศ เพื่อให้อากาศที่จะอัดปราศจากฝุ่นละออง
อุปกรณ์กรองลมอัด (Air Filter)
เมื่อ เครื่องอัดลม (Air compressor) ทําการอัดลมเพื่อให้มีความดัน (Pressure) เพิ่มขึ้นนั้น ลมที่ถูกเครื่องอัดลมดูดเข้าไปเพื่ออัดเก็บในถังเก็บลมนั้น จะมีส่วนผสมของมวลสารอื่น ๆ ด้วย เช่น ไอน้ำ ฝุ่นผง หรือมวลสารที่ล่องลอยในบริเวณที่เครื่องอัดลมทํางานอยู่ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอามวลสารที่ไม่ต้องการเหล่านี้ออกจากลมอัดเพราะมวลสารและสิ่งสกปรกต่าง ๆนี้จะเป็นตัวที่ทําให้อุปกรณ์ทํางานของระบบนิวแมติกเสียหาย
อุปกรณ์ควบคุมความดันของลมอัด (Air Regulator)
มีหน้าที่ในการปรับความดันใช้งานให้คงที่และเหมาะสมกับความดันของระบบและปรับความดันต้นทางให้สูงกว่าความดันปลายทางแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
- ชนิดไม่มีการระบายความดันออกสู่บรรยากาศ
- ชนิดมีการระบายความดันออกสู่บรรยากาศ
เมื่อความดันลมออกมาจากอุปกรณ์กรองลมอัด จะต่อเข้าวาล์วควบคุมความดัน เพื่อทีจะปรับความดันลมให้มีความดันคงที่อยู่ที่ ความดันลมจะผ่านบ่าวาล์วและไหลออกที่ทางออกเพื่อใช้งานต่อไป บริเวณช่องทางออกของลมอัดจะมีช่องออริฟีช (Orifice) ที่ต่อระหว่างช่องทางออกกับห้องใต้แผ่นไดอะแฟรม ถ้าความดันลมที่ออกนี้มีความดันสูงกว่าค่าของสปริง (ตัวบน) ก็จะดันแผ่นไดอะแฟรมให้ยกขึ้น เป็นผลให้ก้านของพอพเพตซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับชุดของแผ่นไดอะแฟรมถูกยกขึ้นตาม ทำให้บ่าวาล์วปิดทางลมที่เข้าวาล์ว ดังนั้น ค่าของสปริงจะเป็นตัวกำหนดค่าความดันลมที่ออกจากวาล์วนั้นเอง
อุปกรณ์เติมน้ำมันหล่อลื่น (Air Lubricator)
ชุดน้ำมันหล่อลื่นจะมีหน้าที่เป็นตัวจ่ายสารหล่อลื่นให้กับอุปกรณ์นิวแมติกโดยจะปนไปกับลมอัดในการใช้งาน เพื่อลดการสึกหรอและความฝืดของอุปกรณ์ต่าง ๆเช่น วาล์วข้อต่อลูกสูบ เป็นต้น ชุดน้ำมันหล่อลื่นจะอาศัยหลักการของช่องแคบที่ความดันแตกต่างกันคือความเร็วของลมอัดที่ไหลผ่านช่องแคบมีความเร็วสูงจึงทําให้เกิดการดูดน้ำมันขึ้นมาผสมกับลมอัดที่ไหลผ่านเปนละอองน้ำมันหล่อลื่นเพื่อนําไปใช้ในระบบหล่อลื่นอุปกรณ์ต่าง ๆต่อไป ในป้จจุบันส่วนมากอุปกรณ์นิวแมติกจะใช้วัสดุเทอร์โมพลาสติก(Thermopastic) แทนวัสดุชิ้นเก่าทําให้ชุดน้ำมันหล่อลื่นไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในปัจจุบัน และระบบการผลิตในอุตสาหกรรมบางประเภทไม่จําเป็นต้องใช้การหล่อลื่น เช่น อุตสาหกรรมผลิตอาหารและยา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์